วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เรียนวันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม 2551

1. มาตรฐาน IEEE802.15มาตรฐาน IEEE 802.15 (IEEE 802.15 Working Group) สำหรับเครื่องข่ายไร้สายส่วนบุคคล หรือดับเบิลยูแพน (WPAN) ซึ่งมีการประชุมกันในสัปดาห์นี้ด้วยเช่นกัน เครือข่ายไร้สายส่วนบุคคลนี้ หมายถึงเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงสำหรับการสื่อสารระยะสั้น ตัวอย่างเช่น การซิงค์ข้อมูลระหว่างเครื่องพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี หรือการเชื่อมต่อทีวีกับเซ็ตท็อปบ็อกซ์ของเคเบิลทีวี เทคโนโลยีที่ได้รับเลือกจะได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “802.15.3a” ซึ่งคาดว่าจะทำรายได้มหาศาลระดับ 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท) ในปี 2007 ตามการรายงานของซีเน็ตโดยอ้างถึงประมาณการณ์ของบริษัทเอบีไอ (Allied Business Intelligence; ABI) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาดเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีความชัดเจนในตัว “802.15.3a” แต่ที่ค่อนข้างแน่นอนแล้วก็คือ เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยกองทัพสหรัฐฯชื่อ “อัลตร้าไวด์แบนด์” หรือ “ยูดับเบิลยูบี” (Ultra Wideband; UWB) ซึ่ง 95% ของข้อเสนอที่ยื่นเข้ามาเลือกใช้เทคนิคนี้ ตามคำกล่าวของ เบน แมนนี (Ben Manny) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย บริษัทอินเทล ผู้ให้การสนับสนุนเทคโนโลยีอัลตร้าไวด์แบนด์กล่าวว่า มันถูกกว่าและกินพลังงานน้อยกว่าบลูทูธ ทั้งยังมีความเร็วสูงกว่าบลูทูธประมาณ 100 เท่า ซึ่งเหมาะสำหรับอุปกรณ์โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ด้วย บลูทูธ (Bluetooth) คือเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล และเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและพีดีเอชั้นนำทั่วโลก รวมถึงบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) และบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) แต่ผู้ไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีนี้แย้งว่า เพราะอัลตร้าไวด์แบนด์เป็นช่องสัญญาณสื่อสารความถี่กว้าง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้อาจไปกวนความถี่ในช่องสัญญาณอื่นที่อยู่ใกล้ๆและกำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ไว-ไฟ (Wi-Fi) “สนีคกี้เวฟ” “อัลตร้าไวด์แบนด์” หรือ “สนีคกี้เวฟ” เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นภายในกองทัพสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สื่อสารระยะสั้นแบบไร้สายและขจัดปัญหาการถูกดักฟัง คลื่นวิทยุส่วนใหญ่จะเป็นคลื่นความถี่ชนิดแนร์โรว์แบนด์ (Narrow Band) ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือที่ใช้ช่องสัญญาณในช่วง 100MHz แต่อัลตร้าไวด์แบนด์จะสูงกว่านั้นหลายสิบหลายพันเท่า บางบริษัทยอมรับว่า อัลตร้าไวด์แบนด์มีช่องสัญญาณที่กว้างมากๆ นั่นเป็นธรรมชาติของมัน หลายรายแก้ไขโดยการซอยช่องความถี่อัลตร้าไวด์แบนด์ออกเป็นช่องสัญญาณเล็กๆซึ่งแต่ละช่องจะมีความถี่ประมาณ 1,000MHz ตัวอย่างเช่น บริษัทเอ็กซ์ตรีมสเปกตรัม (XtremeSpectrum) ที่ซอยช่องสัญญาณอัลตร้าไวด์แบนด์ออกเป็น 2 ช่องสัญญาณย่อย ซึ่งวิธีนี้ได้รับการสนับสนุนจากโมโตโรลา (Motorola) ด้วย ตามการเปิดเผยของตัวแทนจากบริษัทเอ็กซ์ตรีมสเปกตรัม ขณะที่บริษัทอื่น เช่น อินเทลซอยออกเป็น 14 ช่องสัญญาณ

2.มาตรฐานIEEE.802.11มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2540 โดย IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) และเป็นเทคโนโลยีสำหรับ WLAN ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือข้อกำหนด (Specfication) สำหรับอุปกรณ์ WLAN ในส่วนของ Physical (PHY) Layer และ Media Access Control (MAC) Layer โดยในส่วนของ PHY Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 Mbps โดยมีสื่อ 3 ประเภทให้เลือกใช้ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 และ 5 GHz, และ อินฟราเรด (Infarred) (1 และ 2 Mbps เท่านั้น) สำหรับในส่วนของ MAC Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้มีกลไกการทำงานที่เรียกว่า CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับหลักการ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปในเครือข่าย LAN แบบใช้สายนำสัญญาณ นอกจากนี้ในมาตรฐาน IEEE802.11 ยังกำหนดให้มีทางเลือกสำหรับสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN โดยกลไกการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) และการตรวจสอบผู้ใช้ (Authentication) ที่มีชื่อเรียกว่า WEP (Wired Equivalent Privacy) ด้วยวิวัฒนาการของมาตรฐาน IEEE 802.11มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งอุปกรณ์ตามมาตรฐานดังกล่าวจะมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1 และ 2 Mbps ด้วยสื่อ อินฟราเรด (Infarred) หรือคลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz และมีกลไก WEP ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย WLAN ได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากมาตรฐาน IEEE 802.11 เวอร์ชันแรกเริ่มมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำและไม่มีการรองรับหลักการ Quality of Service (QoS) ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งกลไกรักษาความปลอดภัยที่ใช้ยังมีช่องโหว่อยู่มาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงาน (Task Group) ขึ้นมาหลายชุดด้วยกันเพื่อทำการปรับปรุงเพิ่มเติมมาตรฐานให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยคณะทำงานกลุ่มที่มีผลงานที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ IEEE 802.11a, IEEE 802.11b, IEEE 802.11e, IEEE 802.11g, และ IEEE 802.11i

IEEE 802.11bคณะทำงานชุด IEEE 802.11b ได้ตีพิมพ์มาตรฐานเพิ่มเติมนี้เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด มาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ผนวกกับ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อปรับปรุงความสามารถของอุปกรณ์ให้รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ผ่านคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz (เป็นย่านความถี่ที่เรียกว่า ISM (Industrial Scientific and Medical) ซึ่งถูกจัดสรรไว้อย่างสากลสำหรับการใช้งานอย่างสาธารณะด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้ก็เช่น IEEE 802.11, Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สาย, และเตาไมโครเวฟ) ส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะเป็นอุปกรณ์ตามมาตรฐาน IEEE 802.11b นี้และใช้เครื่องหมายการค้าที่รู้จักกันดีในนาม Wi-Fi ซึ่งเครื่องหมายการค้าดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นโดยสมาคม WECA (Wireless Ethernet Compatability Alliance) โดยอุปกรณ์ที่ได้รับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าเป็นไปตามมาตรฐาน IEEE 802.11b และสามารถนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ยี่ห้ออื่นๆที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้

IEEE 802.11aคณะทำงานชุด IEEE 802.11a ได้ตีพิมพ์มาตรฐานเพิ่มเติมนี้เมื่อปี พ.ศ. 2542 มาตรฐาน IEEE 802.11a ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อปรับปรุงความสามารถของอุปกรณ์ให้รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps แต่จะใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่สาธารณะสำหรับใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์อื่นน้อยกว่าในย่านความถี่ 2.4 GHz อย่างไรก็ตามข้อเสียหนึ่งของมาตรฐาน IEEE 802.11a ที่ใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ก็คือในบางประเทศย่านความถี่ดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างสาธารณะ ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการใช้งานอุปกรณ์ IEEE 802.11a เนื่องจากความถี่ย่าน 5 GHz ได้ถูกจัดสรรสำหรับกิจการอื่นอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของอุปกรณ์ IEEE 802.11a WLAN ก็คือรัศมีของสัญญาณมีขนาดค่อนข้างสั้น (ประมาณ 30 เมตร ซึ่งสั้นกว่ารัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11b WLAN ที่มีขนาดประมาณ 100 เมตร สำหรับการใช้งานภายในอาคาร) อีกทั้งอุปกรณ์ IEEE 802.11a WLAN ยังมีราคาสูงกว่า IEEE 802.11b WLAN ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์ IEEE 802.11a WLAN จึงได้รับความนิยมน้อยกว่า IEEE 802.11b WLAN มาก

IEEE 802.11gคณะทำงานชุด IEEE 802.11g ได้ใช้นำเทคโนโลยี OFDM มาประยุกต์ใช้ในช่องสัญญาณวิทยุความถี่ 2.4 GHz ซึ่งอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ส่วนรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะอยู่ระหว่างรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11a และ IEEE 802.11b เนื่องจากความถี่ 2.4 GHz เป็นย่านความถี่สาธารณะสากล อีกทั้งอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IEEE 802.11b WLAN ได้ (backward-compatible) ดังนั้นจึงมีแนวโน้มสูงว่าอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายหากมีราคาไม่แพงจนเกินไปและน่าจะมาแทนที่ IEEE 802.11b ในที่สุด ตามแผนการแล้วมาตรฐาน IEEE 802.11g จะได้รับการตีพิมพ์ประมาณช่วงกลางปี พ.ศ. 2546


3. อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายมีอะไรบ้างเครือข่ายไร้สายที่จะนำมาใช้งานประกอบขึ้นด้วยอุปกรณ์ประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งออกแบบมาสำหรับใช้งานกับผู้ใช้งานภายในบ้านและผู้ใช้งานภายในองค์กรต่างๆ PCI Card ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ หลายๆ รุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมนบอร์ดในระดับไฮเอนด์ จะมีคุณสมบัติไร้สายแบบ Built-in ให้มาด้วย แต่ถ้าท่านต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีที่มีอยู่ต้องการใช้งานร่วมกับระบบไร้สาย ได้ก็สามารถเลือกติดตั้ง PCI Card ได้ ด้วยการถอดฝาครอบเครื่องของเราออกแล้วติดตั้งเข้าไปได้ทันที การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายแบบนี้นั้นจะมีเสาส่งสัญญาณแบบ Dipole ให้มาด้วย 1 เสา ถอดเปลี่ยนได้มาให้พร้อมกันด้วย ซึ่งผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะปรับองศาให้หันไปทิศทางที่ Access Point ตั้งอยู่เพื่อให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนสัญญาณระหว่างกันนั้นดีขึ้นได้

PCMCIA Card เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่มีจำหน่ายในปัจจุบันนี้นิยมผนวกรวมความสามารถในการใช้งานเครือข่ายไร้สายเข้าไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโน้ตบุ๊กที่ใช้งานเทคโนโลยี Intel Centrino ของทาง Intel แต่ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของท่านไม่สามารถใช้งานเครือข่ายไร้สาย ก็สามารถหาซื้อการ์ดแบบ PCMCIA CardBus Adapter มาติดตั้งได้ โดยลักษณะของตัวการ์ดจะมีขนาดเล็กเท่าบัตรเครดิต บางเบาและน้ำหนักน้อยจึงสามารถติดตั้งเข้ากับสล็อตแบบ PCMCIA ของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กได้โดยง่ายทีเดียว


Access Pointเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งการ์ดเครือข่ายไร้สายให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ลักษณะการทำงานจะเป็นเช่นเดียวกับ Hub ที่ใช้กับระบบเครือข่ายใช้สาย โดย Access Point จะมีพอร์ต RJ-45 สำหรับใช้เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายใช้สายที่ใช้งานกันอยู่

Wireless Broadband Router อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับ ADSL ซึ่งออกแบบมาสำหรับจุดประสงค์การใช้งานอย่างหลากหลายเป็นทั้ง Router, Switch และ Access Point ปกติผู้ผลิตจะออกแบบมาให้มีพอร์ตเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แบบใช้สายจำนวน 4 พอร์ต แต่ผู้ผลิตหลายรายก็ออกอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กขนาดพ็อกเก็ตที่มีปุ่มสลับโหมดการทำงานมาให้ใช้ ซึ่งเหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง

Wireless Bridge เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 เครือข่าย ให้สื่อสารกันได้ มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบติดตั้งภายนอกซึ่งใช้เชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างอาคาร และแบบที่ติดตั้งภายในอาคาร โดย Wireless Bridge มี 2 ลักษณะให้เลือกใช้ คือ แบบที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด (Point-to-Point) และแบบจุดต่อหลายจุด (Point-To-Multipoint)

Wireless PrintServer สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์เพื่อให้มีความสามารถในแบบไร้สาย มีทั้งรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับเครื่องพิมพ์ที่มีพอร์ต Parallel, USB หรือทั้งสองพอร์ตร่วมกันด้วย

PoE (Power over Ethernet) Adapter เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับแก้ไขข้อยุ่งยากในการเดินสายไฟฟ้าเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ไร้สาย โดยหันมาใช้วิธีการจ่ายไฟผ่านสายนำสัญญาณ UTP ที่ยังมีคู่สายที่ยังไม่ถูกนำมาใช้งานมาทำหน้าที่แทน ซึ่งอุปกรณ์PoE Adapter จะมี 2 ส่วน คือ Power Injector เป็นอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้าและนำสัญญาณข้อมูลจาก Switch Hub เข้าไปสายนำสัญญาณสู่อุปกรณ์ไร้สายอย่าง Access Point และอีกอุปกรณ์เป็น Spliter ที่ใช้แยกสัญญาณข้อมูลและไฟฟ้าให้กับ Access Point ผู้ผลิตหลายรายในปัจจุบันออกแบบให้ Switch สนับสนุนมาตรฐาน IEEE 802.3af (PoE) มาพร้อมด้วย

4.สเปคอุปกรณ์ของอุปกรณ์ไร้สายพร้อมราคาคุณสมบบัติการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานกับเครือข่ายไร้สายนั้น มีข้อพิจารณาไม่ได้แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์เครือข่ายใช้สายเท่าใดนัก โดยคุณสมบัติที่ควรมีมีดังต่อไปนี้มาตรฐานใดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ในปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมใช้กันงานกันอยู่จะเป็นมาตรฐาน IEEE802.11g ซึ่งรองรับอัตราความเร็วสูงสุดในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานโดยทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้อย่างดี พร้อมกันนั้นก็ยังสนับสนุนการทำงานร่วมกันกับมาตรฐานเดิมอย่าง IEEE802.11b ได้อย่างไร้ปัญหา แต่ในขณะนี้ก็เริ่มที่จะเห็นผู้ผลิตหลายๆ รายต่างส่งผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเทคโนโลยี MIMO ออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เครือข่ายไร้สายที่ให้แบนด์วิดท์, ให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่มากกว่าและมีรัศมีการทำงานที่ดีกว่านั้นจะเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.1g เดิม แต่ผลิตภัณฑ์ที่จะใช้งานคุณสมบัติเหล่านี้ได้อย่างเต็มพิกัดจะต้องเป็นอุปกรณ์จากซีรีส์เดียวกัน ซึ่งตอนนี้ยังมีราคาแพงอยู่มาก การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับมาตรฐาน IEEE802.11g จึงยังคงเป็นคำตอบที่คุ้มค่ามากที่สุดอยู่ ระบบอินเตอร์เฟซแบบไหนสำหรับคุณ การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายก็มีหลายแบบหลายชนิดให้เราๆ ได้เลือกใช้เช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กคุณสมบัติแบบไร้สายดูจะถูกผนวกรวมมาพร้อมกับตัวเครื่องแล้ว แต่สำหรับท่านที่ยังต้องการการ์ดไร้สายสำหรับโน้ตบุ๊กตัวโปรดอยู่ Wireless PCMCIA Card คือคำตอบสุดท้าย หรือถ้าอยากจะใช้งานร่วมกับเครื่องพีซีอย่างคุ้มค่าก็ควรเลือกการ์ดแบบ USB Adapter ที่ราคาอาจจะแพงขึ้นมาหน่อยแต่ก็แลกมากับความคุ้มค่าใช้งานได้หลากหลายกว่า สำหรับท่านที่มีเครื่องพีซีก็มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI Card มาเป็นตัวเลือกเช่นเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาพร้อมสายสัญญาณและเสาอากาศที่ตั้งบนที่สูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารได้ ผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างกัน นอกจากจะสนับสนุนการทำงานในแบบ Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer แล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังสามารถใช้ Access Point เป็นจุดเชื่อมต่อสัญญาณกับเครือข่ายใช้สายเพื่อการแชร์การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการได้ยืดหยุ่นกว่า ในแบบ Insfrastructure โดยถ้ายังไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือติดตั้งระบบเครือข่ายมาก่อน ก็ควรจะเลือกใช้อุปกรณ์อย่าง Wireless Router ที่มีคุณสมบัติในแบบ All-in-One จะให้ความคุ้มค่าได้มากกว่า หรือถ้ามีการใช้งานเครือข่ายใช้สายและไร้สายอยู่ก่อนแต่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งาน การเลือกใช้ Access Point ที่สนับสนุนโหมดการทำงานแบบ Bridge และ Repeater ร่วมด้วย ดูจะเป็นการลงทุนที่ดูคุ้มค่ากว่า ปกป้องการใช้งานด้วยระบบรักษาความปลอดภัย สิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายไร้สายก็คือ การสื่อสารไร้สายนั้นเป็นการติดต่อสื่อสารด้วยการใช้คลื่นวิทยุที่แพร่ไปตามบรรยากาศ จึงต้องให้ความสนใจในการเข้ารหัสข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการดักจับสัญญาณจากผู้ไม่ประสงค์ดี การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไร้สายจึงต้องคำนึงถึงฟังก์ชันการเข้ารหัสที่ใช้ ซึ่งเทคนิคที่ใช้งานโดยทั่วๆ ไป สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน Wired Equivalent Privacy หรือ WEP ขนาด 64/128-bit ร่วมกับ MAC Address Filtering ก็ดูจะเพียงพอ แต่สำหรับการใช้งานภายในองค์กรนั้นเทคนิคการตรวจสอบและกำหนดสิทธิ์การใช้งานต้องดูแข็งแกร่งกว่าโดยเลือกใช้ WPA (Wi-Fi Protected Privacy) ซึ่งใช้คีย์การเข้ารหัสที่น่าเชื่อถือร่วมกันกับเทคนิคการตรวจสอบและการกำหนดสิทธิ์ในแบบ 2 ฝั่ง แบบอื่นๆ อย่าง RADIUS ร่วมด้วยจึงเป็นคำตอบที่เหมาะสม เสารับส่งสัญญาณของผลิตภัณฑ์ สำหรับเสาอากาศของการ์ดไร้สายนั้น ถ้าเป็นการ์ดแบบ PCMCIA และแบบ USB จะเป็นเสาอากาศ Built-in มาพร้อมตัวการ์ด ส่วนการ์ดแบบ PCI นั้นจะเป็นเสาอากาศแบบ Reverse-SMA Connector ซึ่งสามารถถอดออกได้ โดยที่พบเห็นจะเป็นทั้งในแบบเสาเดี่ยวๆ ที่หมุนเข้ากับตัวการ์ด และอีกแบบจะเป็นแบบที่มีสายนำสัญญาณต่อเชื่อมกับเสาที่ตั้งบนพื้นหรือยึดติดกับผนังได้ ซึ่งการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อเสาอากาศแบบหลัง เนื่องจากให้ความยืดหยุ่นในการติดตั้งมากกว่า เพราะสามารถติดตั้งบนที่สูงๆ ได้ สำหรับอุปกรณ์อย่าง Access Point หรือ Wireless Router นั้นจะมีเสานำสัญญาณทั้งในแบบเสาเดี่ยวและ 2 เสา โดยการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อแบบ 2 เสา เนื่องจากให้ประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่า โดยลักษณะของเสานั้นจะมีทั้งในแบบที่ยึดติดกับเข้ากับตัวอุปกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเห็นในรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน และอีกแบบเป็นเสาที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งหัวเชื่อมต่อนั้นจะเป็นทั้งแบบ Reverse-SMA Conector, SMA Conector และแบบ T-Connector ซึ่งถ้าจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเสาอากาศควรจะเลือกซื้อจากทางผู้ผลิตรายเดียวกันเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ซื้อหัวเชื่อมต่อผิดประเภท สำหรับชนิดของเสาอากาศที่มีจำหน่ายจะมี 2 ชนิดหลักๆ ก็คือ แบบ Omni-Direction Antenna ซึ่งเป็นเสาที่ทุกผู้ผลิตให้มากับตัวผลิตภัณฑ์แล้ว โดยคุณสมบัติของเสาประเภทนี้ก็คือ การรับและส่งสัญญาณในแบบรอบทิศทางในลักษณะเป็นวงกลม ทำให้การกระจายสัญญาณนั้นมีรัศมีโดยรอบ ครอบคลุมพื้นที่ แต่ถ้าต้องการใช้งานที่มีลักษณะรับส่งสัญญาณเป็นเส้นตรงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรับส่งและระยะทางตามต้องการก็มีเสาอีกชนิดหนึ่ง คือ Direction Antenna ซึ่งนิยมใช้งานกับผลิตภัณฑ์ประเภท Wireless Bridge สำหรับการสื่อสารในแบบ Point-to-Pointสำหรับท่านที่ต้องการเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้ได้ไกลมากยิ่งขึ้น ก็สามารถเลือกซื้อเสาอากาศ High Gain ที่มีการขยายสัญญาณสูงกว่าเสาอากาศที่ทางผู้ผลิตให้มากับตัวอุปกรณ์ โดยมีให้เลือกใช้หลายแบบทั้งในแบบที่มีค่า Gain 5, 8, 12, 14 หรือสูงกว่าได้ กำลังส่งที่ปรับได้ สำหรับการใช้งานผลิตภัณฑ์ไร้สายนั้น การปรับกำลังส่งสัญญาณได้นับว่าเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของตัวผลิตภัณฑ์ โดยกำลังส่งสูงสุดจะไม่เกิน 100mW หรือ 20dBm ซึ่งผู้ผลิตบางรายจะมีผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนกำลังสูงสุดนี้ทีเดียว โดยค่ากำลังส่งที่มากก็แสดงว่า สามารถที่จะแพร่สัญญาณไปในระยะทางที่ไกล หรือให้รัศมีที่มากขึ้น แต่ก็สามารถปรับกำลังส่งให้ลดต่ำลงเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานภายในองค์กรที่จะต้องใช้กำลังส่งให้เหมาะสมกับพื้นที่ เนื่องจากกำลังส่งสูงๆ อาจจะไปรบกวนสำนักงานข้างเคียงและอาจถูกลักลอบใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายก็เป็นไปได้ การอัปเกรดเฟิร์มแวร์เพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ อุปกรณ์สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Access Point, Wireless Router หรือผลิตภัณฑ์ไร้สายประเภทอื่นๆ ทางผู้ผลิตก็อาจจะเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ ในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของฟังก์ชันการเข้ารหัส ซึ่งอุปกรณ์ที่ผลิตออกมาก่อนหน้าจะสนับสนุน WEP, WPA ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับระบบรักษาความปลอดภัยที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูงมากกว่า ทำให้ผู้ผลิตรายต่างๆ มีการออกเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่ๆ ที่สนับสนุนการทำงานเพิ่มเติมอย่างทำให้รองรับ WPA2 ซึ่งเป็นฟังก์ชันการเข้ารหัสรุ่นใหม่ล่าสุดของอุปกรณ์ไร้สายออกมา ซึ่งผู้ผลิตจะมีเมนูเชื่อมโยงเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่มาใช้งานได้
1.จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง IEEE802.11b และ IEEE802.a
ความแตกต่างของ IEEE 802.11bใช้กลไกเข้าถึงตัวกลางแบบCSMA/CA อาศัยกลไกส่งแบบ DSSS รวมกับเทคนิค cuk ทำให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้เร็วถึง 5.5 Mbpsและ 11 Mbpsความแตกต่าง ของ IEEE802.a ใช้กลไกการส่งแบบ OFDM ซึ่งรองรับความเร็วได้ถีง 54 Mbps

2. ย่านความถี่ ISM band มีอะไรบ้าง
1. ย่านความถี่ที่ 900 MHz มีแบบความกว้างตั้งแต่ 2.400 ถึง 928 MHz22. ย่านความถี่ที่ 2.4 GHz มีแถบความกว้างตั้งแต่ 2.400 ถึง 2.4835 MHz3. ย่านความถี่ที่ 5 GHz มีแถบความกว้างตั้งแต่ 5.725 ถึง 5.850 MHz

3. จงอธิบายพฤติกรรมของคลื่น Diffraction , Interference-Diffraction
อธิบายได้ด้วยหลักกการของฮอยเกนส์ คือ หน้าคลื่นที่ผ่านตัวกันมานั้นจะทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิดคลื่นใหม่ที่มีหน้าที่คลื่นเป็นวงกลม ทำให้เกิดคลื่นวงกลมหลังตัวกั้น-Interference อธิบายเกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกันแล้วเกิดการซ้อนทับกันถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน

4. ระบุ specify ของอุปกรณ์เครือข่าย
vt. enumerate, special syn.class, genus, order, sort, type cf.-specifypf.

5. จงบอกประโยชน์ของเครือข่ายไร้สาย
สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย
1. ผู้ใช้สามารถใช้งานไฟล์ อุปกรณ์ต่างๆโดยไม่ต้องต่อสายและสามารถใช้อุปกรณ์มือถือซึ่งยังคงความเร็วสูงและ Real time2. เวลาที่ใช้ในการติดตั้งลดลงเพราะการติดตั้งไม่ยุ่งยากกับสายต่างๆ3. การใช้งานสะดวกขึ้นในการใช้ WLAN4. จาก Topologies ของ WLAN เป็นการง่ายที่จะใช้และกำหนดขอบเขต5. ทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพขึ้น6. การติดต่อสื่อสารอย่างทันท่วงทีกับทีมงาน7. พนักงานเกิดความพอใจในการทำงานมากขึ้น8. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบเครือข่ายในระยะยาว9. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเพราะอุปกรณ์ Wireless ไม่ต้องใช้สาย

6. จงอธิบายการทำงานของ ALOHA ,CSMA/CA
1. การทำงานของ CSMA/CA คือ เมื่อสถานีหนึ่งต้องการเข้าใช้ช่องสัญญาณสถานีดังกล่าวจะต้องตรวจสอบช่องสัญญาณก่อนว่ามีสถานีอื่นทำการรับส่งสัญญาณข่อมูลอยู่หรือไม่และรอจนกว่าช่องสัญญาณว่าง ซึ่งแต่ละสถานีได้กำหนดระยะเวลาในการรอแล้ว ด้วยการสุ่มค่าหลังจากเสร็จการใช้ช่องสัญญาณครั้งก่อน

7.จงอธิบายหลักการทำงานของ FHSS, DSSS, OFDM
1. FHSS หลักการทำงานสัญญาณจะกระโดดจากความถี่หนึ่งไปยังความถี่หนึ่งในอัตราที่ได้กำหนดไว้ซึ่งจะรู้กันเฉพาะตัวรับกับตัวส่งเท่านั้น2. DSSS หลักการทำงานจะมีการส่ง chipping code ไปกับสัญญาณแต่ละครั้งด้วยซึ่งจะมีเฉพาะตัวรับกับตัวส่งเท่านั้นที่จะรู้ลำดับของ chip3. OFDM หลักการทำงานถูกสร้างมาเพื่อใช้งานสำหรับระบบสื่อสารไร้สายแบบเคลื่อนที่แบนด์กว้างมีอัตราการส่งข้อมูลสูงๆ เช่น ระบบ LAN

8. การลดทอนของสัญญาณคืออะไร
คือ การออกแบบเครือข่ายไร้สายแต่ละประเภทจะต้องเลือกใช้สมการให้เหมาะสมกับระบบที่จะทำการออกแบบทั้งนี้จึงจะทำให้ได้ค่าใกล้เคียงกับสภาพจริงและทำให้ระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

9. กำลังส่งและกำลังรับหมายความว่าอย่างไรกำลังส่ง
หมายความว่า Path Loss เป็นการลดทอนสัญญาณที่กำลังส่งสัญญาณจะลดลงอย่างคงที่ตามระยะทางในการส่งสัญญาณกำลังรับ หมายความว่า การที่เครื่องรับได้รับสัญญาณจาก 2 ทิศทางหรือมากกว่านั้นแล้วทำให้มีการสูญเสียเนื่องจากเกิดการรบกวนกันของสัญญาณที่มาจากทิศทางนั้น

10. Cell sizing คืออะไร
การแบ่งสัญญาณเครือข่ายไร้สายให้ข้างบ้านใช้งานด้วยการติดตั้งระบบเครือข่ายควรดูรัศมีที่ต้องการใช้งานและเลือกใช้รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณให้เหมาะสมกับรัศมีนั้น

ออกข้อสอบ 30 ข้อ

1. ระบบเครือข่ายแบบไร้สายคือ
ก. Wireless LAN
ข. ISM
ค. Heinrich Hertz
ง. OFDM

2. ใครเป็นคนสรค้างทฤษฎี แม่เหล็กไฟฟ้า
ก. เฮน ริค เฮิรตซ์
ข. เจมส์ เคิร์ก แม็กแวลล์
ค. มาโคนี่
ง. มอส เคิร์ก

3. จงบอกคำย่อของ Industeial Sciences Medicine
ก. IMS
ข. SME
ค. MSI
ง. ISM

4. Direct IR และ Diffuse IR เป็นกลไกลการส่งแบบใด
ก. คลื่นอินฟราเรด
ข. คลื่นวิทยุ
ค. คลื่นไมโครเวฟ
ง. ถูกทุกข้อ

5. โครงสร้างของมาตรฐาน IEEE 802.11 ประกอบด้วย
ก. OFDM
ข. DSSS
ค. MAC และ PHY
ง. DSSS และ PHSS

6. ใน MAC Layer จะมีโปรโตคอลชื่อว่า
ก. CA/CSMA
ข. CSAM/CA
ค. AP
ง. CSMA/CA

7. Hot spot ทำหน้าที่เป็นอะไร
ก. กระจายสัญญาณคลื่นวิทยุ
ข. เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่าย
ค. ตรวจสอบการทำงาน
ง. ถูกทุกข้อ

8. รุปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สายมีกี่โหมด
ก. 2 โหมด
ข. 3 โหมด
ค. 4 โหมด
ง. 5 โหมด

9. Wireless LAN ถูกพัฒนาขึ้นใน ค.ศ. ใด
ก. 1980
ข. 1990
ค. 1982
ง. 1992

10. ค.ศ. ใดที่ส่งข้อมูลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นผลสำเร็จครั้งแรก
ก. 1903
ข. 1905
ค. 1907
ง. 1999

11. คลื่นอินฟราเรดที่ใช้ในเครือข่ายไร้สายจะมีคลื่นกี่นาโนเมตร
ก. 650-700
ข. 850-900
ค. 750-800
ง. 950-1000

12. เทคโนโลยีที่ใช้ใน ULAN จากตอนแรกที่ใช้อินฟราเรดในการรับส่ง ตืมีข้อจำกัดในระยะทางส่งไม่ได้ไกล ต่อมาจึงได้ใช้คลื่นวิทยุในการส่ง มีเทคนิค 2 ชนิด คือ
ก. CSMA/CA และ DSSS
ข. FHSS และ SSID
ค. FHSS และ DSSS
ง. OFDM และ FHSS

13. การพัฒนาการของมาตรฐานเครือข่ายไร้สายมีจุดเริ่มต้นและใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ. ใด
ก. 19976
ข. 1997
ค. 1998
ง. 1999

14. การกระจายของคลื่นวิทยุมีกี่ขั้นตอน
ก 5
ข. 6
ค. 7
ง. 8

15. สมบัติของคลื่นมีกี่อย่าง
ก. 4
ข. 5
ค. 6
ง. 7

16. ข้อใดคือการแทรกสอด
ก. Refraction
ข. Ciffraction
ค. Inlerferece
ง. Perntration

17. ข้อใดคือการลดทอนของคลื่น
ก. Refraction
ข.Attenuation
ค. Inlerferece
ง. Perntration

18. หน่วยวัดอัตราการลดทอนหรืออัตราการขยายของกำลังส่งคืออะไร
ก. dB (Decibel)
ข. dBm (Decibel Milli)
ค. dBi (Decibel Isotropic)
ง. ไม่มีข้อทุก

19. มาตรฐาน IEEE ใดใช้กลไกลการเข้าถึงตัวกลางแบบ CSMA/CA พัฒนากลไกลการส่งแบบ OFDM
ก. IEEE 802.11a
ข. IEEE 802.11b
ค. IEEE 802.11g
ง.. IEEE 802.11c

20. ถ้าเราใช้เครือข่ายไร้สายที่มีความี่ 2.4 GHz จะมีอัตราขยายสูงสุดกี่ dBm
ก. 25 dBm
ข. 26 dBm
ค. 27 dBm
ง. 28 dBm

21. หน่วยวัดการเพิ่มกำลังขยาย อัตราขยายที่เทียบจากสาย Dipole
ก. dB (Decibel)
ข. dB (Decibel Milli)
ค. dB (Decibel Isotropic)
ง. dB (Decibel Dipole)

22. เสาอากาศแบบรอบตัวเรียกว่าอะไร
ก. เสาอากาศแบบยากิ
ข. เสาอากาศแบบไดโฟสค
ค. เสาอากาศแบบกลิด
ง. ถูกทุกข้อ

23. เสาอากาศแบบทิศทางอัตราการขยายมีค่าประมาณเท่าไหร่
ก. 2-12 dBi
ข. 6-12 dBi
ค. 8-32 dBi
ง. 9-36 dBi

24. ทฤษฎีของ XP Technology คือ
ก. การประมวลผล
ข. การรับค่า
ค. การส่งข้อมูล
ง. ถูกทุกข้อ

25. เราสามารถแทนค่าลงในสมการ PL (db) = 41+10 log(D3.3) เพราะฉะนั้นถ้าเป็นพื้นที่ในสำนักงานจะมีค่า LOSS เท่ากับ
ก. 40 db
ข. 41db
ค. 50 db
ง. 51 db

26. หน่วยที่ใช้เยนกขนาดของกำลังไฟฟ้าคือ
ก. Watt
ข. db (Decibel)
ค. dBm (Decidbel)
ง. dBm (Decibel)

27. สัญญานสั้นและยาวสลับกันเรียกว่า
ก. Hertx Code
ข. Clerk Code
ค. Morse Code
ง. Rich Code

28. ISM Bang ใช้ช่วงความถี่ใด
ก. 802 MHz
ข. 702 MHz
ค. 602 MHz
ง. 902 MHz

29. การเกิดคลื่นจะมีพลังงานและความแรงเรียกว่า
ก. Herth
ข. Header
ค. Amplitude
ง. DAB

30. การวัดหน่วยของคลื่นจะมีหน่วยเป็น
ก. Herth
ข. Header
ค. Amplitude
ง. DAB

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบ 50 ข้อ

1. พื้นที่ที่สัญญาณครอบคลุมการทำงานเรียกว่าอะไร

a. AP b. BSSc. ESS d. DCF

เฉลย a. AP

2. ข้อใดไม่ถูกต้องในการกล่าวถึง Rang ของความถี่
a. 902 MHz – 928 MHz b. 2.400 GHz – 2.8435 GHzc. 5.725 GHz – 5.855 GHz
d.ข้อ ก. และ ข้อ ข.
เฉลย b. 2.400 GHz – 2.8435 GHz

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามจากข้อ 3 – 8 เขียนคำตอบลงในช่อง ก.
A. Industry
B. Science
C. Medical
D. 900 MHz
E. 2.400 GHz
F. IEEE802.11a
G. IEEE802.11b
H. 54 Mbits
I. 2 Mbits
J. 11 Mbits
K. DSSS
L. FHSS
M. IS
M
3. Data Rate สูงสุดที่สามารถส่งข้อมูลได้ใน wireless Lan ที่ใช้ Machanism แบบ OFDM
เฉลย K.DSSS

4. Radio Frequency ที่ใช้งานเยอะที่สุดใน IEEE802.11
เฉลย L. FHSS

5. IEEE802.11b ใช้ machanism แบบใด
ตอบ C. Medical

6. Machanism แบบใดที่มี Data Rate 11 Mbits
เฉลย A. Industry

7. ย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้ได้ในงานอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์
เฉลย D. 900 MHz

8. Radio frequency 2.400 GHz มีกี่ channela. 54 b. 69c. 79 d. 89
เฉลย c.799.
9.ในการ hop แต่ละ hop ใช้การ synchronize ต่างกันเท่าไหร่
a. 0.4 ms per hop
b. 0.45 ms per hop
c. 0.2 ms per hop
d. 0.25 ms per hop
เฉลย b.0.45 ms per hop
10. สถาปัตยกรรมของ wireless lan ใน mode ใดที่ต้องเดินสาย wire network
a. ad-hoc
b. Peer to peer
c. Infrastructure
d. BSS
เฉลย d.BSS
11. Routing Protocol มีกี่แบบ อะไรบ้าง
a. 2 แบบ Link state & Distance Vector
b. 2 แบบ Link state & Dynamic
c. 2 แบบ Dynamic & Static
d. 2 แบบ DGP & OSPF
เฉลย b. 2 แบบ Link state & Dynamic
12. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาลักษณะของ Routing ที่ดี
a. Cost ต่ำ
b. Space ต่ำ
c. Delay ต่ำ
d. Hop ต่ำ
เฉลย d. Hop ต่ำ
13. Protocol BGP พิจารณาการส่งข้อมูลจากอะไร
a. จำนวนลิงค์
b. ระยะทาง
c. จำนวน router
d. ราคาค่าเช่า
เฉลย b. ระยะทาง
14. ลักษณะสำคัญของ routing table ประกอบด้วยอะไรบ้าง
a. ต้นทาง
b. ปลายทาง
c. ต้นทาง ปลายทาง
d. ต้นทาง โปรโตคอล ปลายทาง
เฉลย c. ต้นทาง ปลายทาง
15. OSFP (Open Shortest Path First) เป็นชื่อของ
a. Algorithm
b. Protocol
c. Router
d. Routing Table
เฉลย b. Protocol
16. ชนิดของเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้รับ – ส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ
a. Grade Index Multimode
b. Step Index Multimode
c. Single Mode
d. ถูกทุกข้อ
เฉลย a.Grade Index Multimode
17. แกนกลางที่เป็นใยแก้วนำแสงเรียกว่าอะไร
a. Jacket
b. Cladding
c. Core
d. Fiber
เฉลย c. Core
18. แสดงที่เดินทางภายใสเส้นใยนำแสงจะตกกระทบเป็นมุม คือลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใด
a. Grade Index Multimode
b. Step Index Multimode
c. Single Mode
d. ถูกทุกข้อ
เฉลย a. Grade Index Multimode
19. แสดงที่เดินทางภายในเส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นเส้นตรง คือลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใด
a. Grade Index multimode
b. Step Index Multimode
c. Single Mode
d. ถูกทุกข้อเฉลย c. Single Mode
20. ต้นกำเนิดแสง (optical source) ที่มี Power ของแสงเข้มข้นคือ
a. Laser
b. APDc. LED d. PIN-FET
เฉลย d.PIN-FET
21. ข้อใดคือ Fast Ethernet
a. 10base5
b. 1000baseFX
c. 100BaseFL
d. 10GbaseTX
เฉลย b. 1000baseFX
22. 10BasF ใช้สายสัญญาณอะไรในการส่งข้อมูล
a. UTP
b. STP
c. Coaxial
d. Fiber Optic
เฉลย b. STP
23. ข้อใดไม่ใช่ Ethernet แบบ 1000 mbps
a. 1000BaseT
b. 100BaseTX
c. 1000BaseX
d. 1000BaseFL
เฉลย c.1000BaseX
24. ขนาด Frame ที่เล็กที่สุดของ Gigabit Ethernet คือ
a. 53 byte
b. 64 byte
c. 128 byte
d. 512 byteเฉลย d. 512 byte
25. Ethernet ใช้ protocol ใดในการตรวจสอบการส่งข้อมูล
a. LLC
b. CSMA/CA
c. CSMA/CD
d. ALOHA
เฉลย b. CSMA/CA
26. Ethernet 10baseT ต่อยาวกี่เมตรสูงสุด
a. 80 ม.
b. 100 ม.
c. 150 ม.
d. 185 ม.
เฉลย b. 100 ม.
27. ใครเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของ Ethernet
a. OSI
b. IEEE
c. ISO
d. CCITT
เฉลย b.IEEE
28. 10Base5 ใช้สาย Coaxial แบบใด
a. Thin
b. Thick
c. UTP
d. STP
เฉลย b.Thick
29. Fast Ethernet มีความเร็วเท่าใด
a. 10 mbps
b. 100 mbps
c. 1000 mbps
d. 10 Gbpsเฉลย b. 100 mbps
30. 100 Mbps, baseband, long wavelength over optical fiber cable คือ มาตรฐานของ
a. 1000Base-LX
b. 1000Base-FX
c. 1000Base-T2
d. 1000Base-T4
เฉลย d.1000Base-T4
31. ATM มีขนาดกี่ไบต์
a. 48 ไบต์
b. 53 ไบต์
c. 64 ไบต์
d. 128 ไบต์
เฉลย b. 53 ไบต์
32. CSMA พัฒนามาจาก
a. CSMA/CA
b. CSMA/CD
c. CSMA
d. ALOHA
เฉลย b. CSMA/CD
33. Internet เกิดขึ้นที่ประเทศอะไร
a. AU
b. JP
c. USA
d. TH
เฉลย c.USA
34. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายข้อมูล หรือ Transport Technology
a. SEH
b. ATM
c. Mobile
d. DWDM
เฉลย d. DWDM
35. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
a. CS internet
b. Operator
c. Admin
d. ISP
เฉลย c.Admin
36. การแจกจ่ายหมายเลขไอพีแอดเดรส ให้กับเครื่องลูกโดยอัตโนมัติเรียกว่าอะไร
a. DNS
b. FTP
c. DHCP
d. Proxxy
เฉลย b.FTP37. การถ่ายโอนข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
a. DNS
b. FTP
c. DHCP
d. Proxxy
เฉลย c. DHCP
38. โปรโตคอลการสื่อการที่เป็น offline
a. ICMP
b. TCP
c. UDP
d. ARP
เฉลย d. ARP
39. การหาเส้นทางการส่งข้อมูลเรียกว่า
a. Routing
b. Routing Protocol
c. RoutingTable
d. Router
เฉลย b. Routing Protocol
40. ข้อใดไม่มีในขั้นตอนการทำ server 7 พ.ค. 48
a. DHCP
b. DNS
c. Routing Protocol
d. Virtual host
เฉลย b. DNS
41. หมายเลข IP Class ใดรองรับการทำงานของ host ได้สูงสุด
a. A
b. B
c. C
d. D
เฉลย d. D
42. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างชนิดเข้าด้วยกันคือ
a. Hub
b. Switching
c. Modem
d. Router
เฉลย a. Hub
43. การ set ค่าความสำคัญสูงสุด (High priority) ของ packet เป็นหน้าที่ของ function ใดต่อไปนี้
a. PIFS
b. SIFS
c. DIFS
d. MIB
เฉลย d. MIB
44. การป้องกันการชนกันของการส่งข้อมูลใด WLAN ใช้หลักการใด
a. ALOHA
b. CSMA
c. CSMA/CA
d. CSMA/CD
เฉลย d. CSMA/CD
45. Data Rate สูงสุดขนาด 54 Mb ที่ส่งได้ใน WLAN ใช้มาตรฐานใดและใช้หลัก mechanism (กลไกการส่ง) แบบใด
a. IEEE802.11a ; DSSS
b. IEEE802.11b ; FHSS
c. IEEE802.11a ; OFDM
d. IEEE802.11b ; OFDM
เฉลย c. IEEE802.11a ; OFDM
46. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ D/A คือ
a. Hub
b. Switching
c. Modem
d. Router
เฉลย c. Modem
47.อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บรอดแคสสัญญาณ (Broadcast) คือ
a. Hub
b. Switching
c. Modem
d. Router
เฉลย d. Router
48. Mechanism ใดของ WLAN ที่มีการรบกวน (Interference) สูงที่สุดใด
a. Diffuse IR
b. DSSS
c. OFDM
d. FHSS
เฉลย b. DSSS
49. CIDR 192.168.0.0/24 จะมีค่า subnet mask เท่าใด
a. 225.225.0.0
b. 225.225.128.0
c. 225.225.225.0
d. 225.225.225.192
เฉลย d. 225.225.225.192
50. การ Roaming ใช้กับการโอนถ่ายข้อมูลระหว่าง
a. AP กับ AP
b. BSSกับ AP
c. AP กับ BSS
d. BSS กับ BSS
เฉลย c. AP กับ BSS

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551

4122102 เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย
(Computer Network and Distributed)
คำอธิบายรายวิชา (Course Description) ความรู้เบื้องต้นเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เครือข่าย การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินอล ชั้นของโปรโตคอลมาตรฐาน OSI รูปแบบต่าง ๆ ของเครือข่าย X.25 เนตเวิร์คและดิจิตอลเนตเวอร์ค การประมวลผลแบบตามลำดับและแบบขนาน การไปป์ไลน์ (Pipelining) การประมวลผลแบบเวคเตอร์ (Vector Processing) การประมวลผลแบบอะเรย์ (Array Processors) มัลติโปรเซสเชอร์ (Multiprocessor) และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์ (Fault Tolerance)

topology

รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ประเภทของระบบเครือข่าย Lan ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงาน
ในการแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่การเชื่อมต่อแบบ Peer - To - Peer และแบบ Client / Server
1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี
2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client

ประเภทของระบบเครือข่ายมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็คือ การเชื่อมต่อแลนแบบไร้สาย Wireless Lan แลนไร้สาย WLAN เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เหมาะที่จะใช้ได้ทั้งเครื่องพีซีตั้งโต๊ะธรรมดา และเครื่อง NoteBook ซึ่งการส่งสัญญาณติดต่อกันนั้น จะใช้สัญญาณวิทยุเป็นพาหะ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลก็จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางยิ่งไกล ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ทำให้ช้าลงไปด้วย แลนไร้สายเหมาะที่จะนำมาใช้กับงานที่ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อย่างเช่นพวก เครื่อง NoteBook เพียงแต่มีอินเตอร็เฟสแลนแบบไร้สาย ก็สามารถเคลื่อนที่ไปที่ใดก็ได้ภายในของเขตของระยะทางที่กำหนด อย่างเช่นภายในตึกได้ทั่วตึกเลยที่เดียว จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีดังนี้
- การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
- การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
- การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
- เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
มาตราฐานของ Wireless Lan นั้นตามมาตรฐานสากล 802.11 มีอัตราการส่งสัญญาณข้อมูลได้สูงสุด 11 เมกะบิตต่อวินาที ระยะทางการรับส่งสัญญาณขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าออกแบบมาอย่างไร ถ้าเป็นการใช้ภายในอาคารสถานที่ ก็จะใช้สายอากาศแบบทุกทิศทาง จะได้ระยะทางประมาณ 50 เมตร แต่ถ้าเป็นการใช้กันแบบจุดต่อจุดหรือนอกสถานที่ ก็จะมีการออกแบบให้ใช้สายอากาศแบบกำหนดทิศทาง ให้ได้ระยะทางมากกว่า 10 กม.ได้
Lan Protocol - Ethernet
Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ และ การใช้ Topology ก็จะแตกต่างกันออกไป ดังแสดงตามตารางดังนี้
มาตรฐาน
ความเร็วการรับส่งข้อมูล
ชนิดของสายสัญญาณ
รูปแบบของ Topology
ARCnet
2.5 Mbps
Coaxial , UTP
Star , Bus
Token Ring
4 หรือ 16 Mbps
UTP , STP
Ring , Star
Ethernet
10 Mbps
Coaxial , UTP
Bus , Star

ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะโปรโตคอล Ethernet เท่านั้น ซึ่งโปรโตคอลของ Ethernet นี้ จะอยู่ในมาตรฐานของ IEEE 802.3 โดยได้รับการออกแบบโดย Xerox ในปี 1970 เป็นเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbps แต่ในในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet ดังนี้
ETHERNET
อัตราความเร็ว 10 Mbps
อัตราความเร็ว 100 Mbps
อัตราความเร็ว 1000 Mbps
อัตราความเร็ว 10 Gbps
บางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802.3
ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3u
ซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3ab
ซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ae

ซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่
จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้น
ETHERNET
มาตรฐาน การเชื่อมต่อ
อัตราความเร็ว การรับส่งข้อมูล
ระยะความยาว ในการรับส่งข้อมูล
Topology ที่ใช้
สายที่ใช้ Cable
ชื่อเรียก
10base2
10 Mbps
185 - 200 เมตร
BUS
Thin Coaxial
Thin Ethernet หรือ Cheapernet
10base5
10 Mbps
500 เมตร

Thick Coaxial
Thick Ethernet
10baseT
10 Mbps
100 เมตร
STAR
Twisted Pair (UTP)

10baseF
10 Mbps
2000 เมตร

Fiber Optic

100baseT
100 Mbps
......... เมตร

Twisted Pair (UTP)
Fast Ethernet

เข้าเรียนวันแรก e-learning

http://e-learning.tu.ac.th/ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์http://elearning.northcm.ac.th มหาวิทยาลัยนอร์ท - เชียงใหม่http://www.chulaonline.com/จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://e-learning.mfu.ac.th/มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงhttp://it108.blogspot.com/2008_05_11_archive.htmlวิทยาลัยพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
http://kawluck.212cafe.com/archive/2005-09-28/network-telecommunication-datacommunication-networked-linked-up-online-net-computer-network-client-h
http://e-learning.rw.ac.th/โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
http://www.rbru.ac.th/courseware/science/4000107/lesson7/lesson7.3.html
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/Network2/4-2.htm
http://www.1000za.com/forum/archiver/?tid-11945.html